วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคซ่อมคอมฯ



ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเมนบอร์ด

เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิต PCB (Print Circuit Board) ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่าง ๆ รวมทั้ง ซีพียู, หน่วยความจำหรือ RAM และแคช (Cache) ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรม
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัว ผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกัน นอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต (Slot) ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบัน ยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller), พอร์ตอนุกรม (Serial Port), พอร์ตขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2, USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controller สำหรับอุปกรณ์อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น

ตามlinkนี้เลย ปัญหาจากเมนบอร์ด

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ดนั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขยาก และเกิดจากหลายสาเหตุ เนื่องจากมีอุปกรณ์หลายตัวเข้ามาติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ทำให้เมื่อเมนบอร์ดมีปัญหามักหาสาเหตุไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่จะมองไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นมากกว่า เพราะจะว่าไปแล้วโอกาสที่อาการเสียจะเกิดจากเมนบอร์ดนั้น มีค่อนข้างน้อยทำให้อาจนึกไม่ถึง
สำหรับอาการเสียของเมนบอร์ดจะคล้ายกับอาการเสียของอุปกรณ์ตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เช่นเครื่องบูตไม่ขึ้น , จอภาพมืด ส่วนใหญ่จะคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดมาจากจอภาพและฮาร์ดดิสก์มากกว่า หรืออาการเครื่องแฮงค์บ่อย หลายคนมักวิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากแรม หรือไม่ก็ ซีพียู แต่แท้จริงแล้ว หากเมนบอร์ดเสีย เครื่องก็ไม่สามารถบูตได้ หรือเกิดอาการแฮงค์บ่อยได้เหมือนกัน


แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาเกิดจากเมนบอร์ดมีดังนี้
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อของขั้วต่อต่าง ๆ บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แน่นและถูกต้อง เช่นขั้วต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์ , ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายกับกับเมนบอร์ด เป็นต้น
- ตรวจสอบการติดตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง เช่น แรม หรือการ์ดต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้แน่น
- ตรวจสอบการระบายความร้อนบนอุปกรณ์เมนบอร์ดเช่น พัดลมชิพเซ็ท พัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย หรือพัดลมเสริมตัวอื่น ๆ ว่ายังทำงานอยู่ดีหรือไม่
- ตรวจสอบการเซ็ตจัมเปอร์และดิปสวิตซ์บนเมนบอร์ดว่ากำหนดค่าต่าง ๆ ถูกต้องหรือ ส่วนมากมักจะเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ
- ตรวจสอบการกำหนดค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบถ่านแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดว่าหมดแล้วหรือยังถ้าหมดให้เปลี่ยนถ่านใหม่
- หากเมนบอร์ดถามหาพาสเวิร์ดแล้วจำไม่ได้ให้ทำการเคลียร์ไบออสโดยถอดจัมเปอร์ไปเสียบที่ขา Clear Bios (ดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบ) หรือจะถอดถ่านแบตเตอรี่ออกมาทิ้งไว้สักพักแล้วใส่เข่าไปใหม่ก็ได้
- ตรวจวสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาติดตั้งว่าเข้ากันได้กับเมนบอร์ดหรือไม่ บางครั้งหากผู้ใช้ซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มาเมนบอร์ดตัวเดิมจะไม่สามารถรองรับได้ ให้ทำการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้จักกับอุปกรณ์ ใหม่ ๆ ได้

หากได้ทำการตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้แล้วยังไม่พบปัญหาก็อาจเป็นไปได้ว่า เมนบอร์ดเสีย ให้เช็คดูว่ามีกระแสไฟลัดวงจร หรือเมนบอร์ดช๊อตหรือไม่ โดยตรวจสอบแท่นรองน็อตหรือมีวัตถุแปลกปลอมอย่างอื่นที่สามารถนำไฟฟ้าได้แอบแฝงอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งเมนบอร์ดแล้ว ลืมน๊อตตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดเมื่อมีกระแสไฟจ่ายเข้ามาก็อาจทำให้เมนบอร์ดพังได้ เพราะน๊อตตัวเล็ก ๆ จะเป็นตัวนำกระแสไฟได้เป็นอย่างดี

สรุป การที่จะรู้ว่าเมนบอร์ดของคุณเสียเปล่าต้องมีการทดสอบคือนำเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดสอบครับ ถ้าไม่มีคงจะต้องถึงมือช่างแล้ว

IEEE1394 Port


IEEE1394 Port

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง

Line in / Line out / Microphone Jack

สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี หรืองานตัดต่อวิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำเป็น

PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Portฯลฯ

PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port

เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

USB Port (Universal Serial Bus)

พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ

Parallel Port

พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป

Serial Port

พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่

Video Port

พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)

System Panel Connector

System Panel Connector

สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด

RAM Sockets

RAM Sockets

เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม